หน่วยที่ 1

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศความหมายของนวัตกรรม นวัตกรรม คือ เครื่องมืออย่างหนึ่งในความเป็นนักประกอบการมืออาชีพ นวัตกรรม คือ การกระทำต่างๆ ที่นำเอาทรัพยากรต่างๆ มาทำให้เกิดขีดความสามารถใหม่ๆ ในทางที่ดีขึ้น “นวต” มาจากคำว่า ใหม่ (new หรือ nuvo) เมื่อพ่วงคำว่า “กรรม” ที่แปลว่า การกระทำลงไป จะกลายเป็น การกระทำใหม่ๆ หรือผลงานใหม่ๆ ซึ่งถ้าแปล นวัตกรรม = การกระทำใหม่ๆ ดูออกจะแคบไปสักหน่อย เพราะนวัตกรรมมีความหมายที่กว้าง และยิ่งใหญ่กว่าแค่ทำอะไรใหม่ๆ นิยาม อย่างง่ายๆ ของนวัตกรรม มีหลายแบบ เช่น กระบวนการในการพัฒนาต่างๆ โดยการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ การกระทำซึ่งใช้สิ่งใหม่ หรือ สิ่งใหม่ซึ่งเพิ่งได้นำมาใช้ 1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยี คือ เครื่องมือที่นำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกของมนุษย์ และสารสนเทศ คือสิ่งที่ได้เป็นข้อมูลแล้วนำเอามาทำการประมวลผลแล้วได้ผลลัพธ์ที่มีความหมาย ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงหมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนการที่นำมาใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน และการสื่อสารข้อมูล 2. บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ - ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำเนินชีวิต - เสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิต 3. ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ - เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน - เปลี่ยนรูปแบบการบริหารเป็นแบบกระจาย - เป็นสิ่งที่จำเป็นในหน่วยงานต่างๆ - เกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ 4. ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ - การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น - สารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสถานศึกษา - IT กับการป้องกันประเทศ - เสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคมและการกระจายโอกาส - เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม - การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ 5. ความหมายของการบริหารและการจัดการ 5.1 การบริหาร การบริหาร คือ ใช้กับบุคคลที่ใช้กำหนดนโยบายซึ่งนโยบายก็คือเป้าหมายสูงสุดขององค์กร 5.2 การจัดการ การจัดการ คือ ใช้เกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยนำเอานโยบายมาแปลงแล้วนำไปปฏิบัติ 6. ความจำเป็นที่ต้องใช้ IS/IT - IT ใช้พัฒนาประเทศ - มีการแข่งขันระหว่างประเทศ - คนเก่งหายากมากขึ้น - เทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากขึ้น - กรอบเวลาดำเนินงานลดลง - ข้อจำกัดทางการเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม 7. เหตุใดองค์กรจึงไม่ประสบความสำเร็จในการนำ IS ไปใช้ - การลงทุนในระบบไม่มีทิศทาง - ระบบไม่ผสมผสานกัน คือ ต่างคนต่างทำ - ไม่มีวิธีการกำหนดลำดับความสำคัญของโครงการ - ไม่มีวิธีบอกว่าใช้ทรัพยากรเหมาะสมที่สุดแล้วหรือไม่ - ไม่มีสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจ - แผนก IS กับผู้ใช้ไม่พอใจกัน - ไม่มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 8. ประเด็นที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ IT - ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาและใช้งานระบบได้สำเร็จ - ควรใช้เทคโนโลยีอะไรดี ซื้อได้จากใคร ทำอย่างไรจึงจะควบคุมการขยายตัวเองของ อุปกรณ์ที่เข้ากันไม่ได้ 9. การประยุกต์เชิงกลยุทธ์ของ IS/IT - ผสมผสานการใช้สารสนเทศในหน่วยงานระบบ Mission Critical - เชื่อมโยงหน่วยงานกับลูกค้า และพันธมิตรคู่ค้า - ทำให้หน่วยงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริการใหม่ๆออกตลาดได้เร็วและตรงความต้องการ - ช่วยให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่ช่วยจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล 10. ทรัพยากรสารสนเทศ - Hard ware - Soft ware - Data - Database - Information - IT Specialist - Users นวัตกรรม (Innovation) คือ การนำเอาสิ่งใหม่ (แนวความคิด การกระทำ / วิธีการปฏิบัติ สิ่งประดิษฐ์) เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน ความจำเป็นในการใช้นวัตกรรมการศึกษา 1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน 2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว 3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น 4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีคมนาคม ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษา 1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ 2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน 3. การพัฒนาสื่อใหม่ๆเข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน 4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง 5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ 6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษาครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุง ประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm) สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยี ทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm) แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา ปัจจัย สำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การ จัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้ อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) 2. ความพร้อม (Readiness) เดิมที เดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases) 3. การ ใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ 4. ประสิทธิภาพ ในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้อง แสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น - มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน เกณฑ์ในการพิจารณานวัตกรรม เพื่อ ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าวิธีการที่นำมาใช้ในกระบวนการใด ๆ นั้น จะเรียกว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526:37 ได้กล่าวถึง) เกณฑ์ของนวัตกรรมไว้ว่าประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการคือ 1) เป็นวิธีการใหม่ทั้งหมดหรือเกิดจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิม 2) มีการนำเอาระบบ (System) พิจารณาองค์ประกอบของกระบวนการดำเนินการ นั้น ๆ 3) มีการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า ทำให้กระบวนการดำเนินงานนั้น ๆ มี ประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม 4) ยัง ไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบในปัจจุบัน กล่าวคือหากวิธีการนั้น ๆ ได้รับการนำเอา ไปใช้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไปแล้ว และวิธีการนั้นมีประสิทธิภาพก็จะถือว่าวิธีการนั้น ๆ นับเป็นเทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็น การใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัว อย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ นวัตกรรมสื่อการสอน เนื่อง จากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการ เรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่ - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) - มัลติมีเดีย (Multimedia) - การประชุมทางไกล (Teleconference) - ชุดการสอน (Instructional Module)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น